หน่วยที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยอยุธยา

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา
สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมต่อการเป็นเมืองท่าค้าขาย ประกอบกับความมั่นคงทางการเมืองการปกครอง ทำให้อยุธยามีอำนาจและอิทธิพลเหนือรัฐใกล้เคียง นอกจากนี้พื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ยังทำให้อยุธยาเป็นแหล่งธัญญาหารที่สำคัญ รวมถึงวิเทโศบายของอยุธยาก็เปิดกว้างในการติดต่อกับนานานชาติ ด้วยปัจจัยหลายประการข้างต้น กรุงศรีอยุธยาจึงเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติที่รุ่งเรืองมากในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งที่พ่อค้าจากตะวันออกและตะวันตกเข้ามาติดต่อซื้อขายสินค้า โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระนานรายณ์มหาราชเป็นสมัยที่การทูตและการต่างประเทศเฟื่องฟูมากยุคหนึ่ง
ความสัมพันธ์กับรัฐเพื่อนบ้าน
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับเพื่อนบ้านมีทั้งลักษณะที่เป็นไมตรีต่อกัน และมีความขัดแย้งจนต้องทำสงครามกัน ทั้งนี้เพราะอยุธยามีนโยบายในการขยายอำนาจเข้าไปปกครองในดินแดนของรัฐเพื่อนบ้าน จึงทำให้ความสัมพันธ์ดำเนินไปในลักษณะการรุกรานซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะกับพม่าที่มีการทำสงครามกันตลอดในสมัยอยุธยา
1.ล้านนา แคว้นล้านนามีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ อยุธยาไม่ได้มีอาณาเขตติดต่อกับล้านนาโดยตรงเนื่องจากมีอาณาจักรสุโขทัยคั่นอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับล้านนามีลักษณะเป็นการทำสงครามกันมากกว่าการเป็นไมตรีต่อกัน สงครามกับอยุธยากับล้านนาได้เกิดขึ้นหลายครั้งในรัชสมัยพระยาติโลกราชแห่งล้านนากับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา หลังจากนั้นอยุธยากับล้านนาจึงเป็นไมตรีต่อกัน ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ อยุธยาติดทำสงครามกับพม่าจึงไม่ยกกองทัพไปช่วยเมืองเชียงใหม่ซึ่งถูกพม่ารุกรานเช่นเดียวกัน จะเห็นว่าตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ล้านนาตกอยู่ใต้อิทธิพลทางการเมืองของไทยเป็นบางช่วง และบางช่วงอยู่ใต้อิทธิพลของพม่า เมื่อสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนรายณ์แล้ว ล้านนาเป็นอิสระได้ระยะหนึ่งจนกระทั่งมาถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย เชียงใหม่ตกเป็นเทศราชของพม่าจนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310
2. ลาว ในสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มได้ทรงรวบรวมดินแดนลาวเข้าเป็นอันหนึ่งเดียวกันแล้วสถาปนาเป็นอานาจักรล้านช้างซึ่งขณะนั้นตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) แห่งอยุธยากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ได้แบ่งดินแดนกันโดยใช้แนวทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นเขตแดนระหว่างกัน หลักฐานสำคัญที่แสดงถึงสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างไทยและลาวสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระเจ้าไชยเชษฐา คือ การร่วมกันสร้างพระธาตุสีสองรัก มีศิลาจารึกเป็นตัวอักษรทางภาษาลาว อีกด้านหนึ่ง เป็นอักษรของภาษาไทย เมื่อฝรั่งเศสเข้ามายึดเมืองด่านซ้ายใน พ.ศ. 2449 ได้นำศิลาจารึกนี้ไปเวียงจันทร์ เนื้อความในศิลาจารึกกล่าวถึงกษัตริย์ทั้งสองนครว่า จะรักใคร่กลมเกลียวกันจนชั่วลูปชั่วหลาน หลังจากไทยเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่าครั้งที่ 1 แล้วไม่ปรากฏหลักฐานความเป็นมิตรไมตรีระหว่างไทยกับลาวตาอย่างใด
3. พม่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าส่วนใหญ่เป็นการแข่งอิทธิพลและการขยายอำนาจจึงทำให้เกิดสงครามตลอดมา สาเหตุสำคัญมาจากการที่พม่าได้เป็นใหญ่ในเหนือดินแดนมอญและไทยใหญ่แล้วก็พยายามขยายอำนาจเข้ามายังอาณาจักรอยุธยา การที่พม่ายกทัพมารบกับอยุธยาหลายครั้งแสกงให้เห็นถึงความต้องการเป็นใหญ่ในดินแดนแถบนี้แล้วพม่าต้องการแสดงความเป็นเอกภาพในดินแดนพม่าโดยการรวบรวมชนกลุ่มน้อยให้เป็นหนึ่งเดียวกันแต่อุปสรรคสำคัญของพม่า ในสมัยอยุธยาไทยกับพม่าได้ทำสงครามกันถึง 24 ครั้ง ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าจึงเป็นลักษณะความสัมพันธ์ทางการเมืองและการทำสงครามเกือบตลอดเวลา
4. เขมร ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ได้โปรดเกล้าฯได้ยกทัพไปตีเขมรได้สำเร็จแต่ปกครองอยู่ได้ไม่นานเขมรประกาศตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงยกทัพไปตีเขมร เขมรจึงตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา แต่ภายหลังรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เขมรก็ตั้งตัวเป็นอิสระแม้ไทยจะส่งกองทัพไปปราบแต่ก็ไม่สำเร็จ ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับเขมรมีทั้งลักษณะเป็นไมตรีต่อกัน มีความขัดแย้งหรือทำสงครามกันแต่ทว่าความสัมพันธ์ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือการรับอิทธิพลของเขมรหลายประการเข้ามา คือ การปกครองแบบสมมติเทพ พระราชพิธีต่างๆ ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี และศิลปวัฒนธรรม ยังคงมีบทบาทและความสำคัญในสังคมไทยมาจนถึงทุกวันนี้
5. หัวเมืองมลายู หัวเมืองมลายูตกเป็นประเทศของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ในพงศาวดารมีการระบุชื่อประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาว่าทางตอนใต้ ได้แก่ เมืองมะละกา และเมืองยะโฮร์ สองเมืองนี้ไทยให้ปกครองตนเองแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมายังกรุงศรีอยุธยา หัวเมืองมลายูพยายามตั้งตนเป็นอิสระจากอยุธยา ช่วงเวลาใดที่อยุธยาเกิดการแย่งอำนาจกันเองหรือต้องทำศึกสงครามกับพม่า หัวเมืองมลายูก็จะตั้งตนเป็นอิสระ ในตอนปลายสมัยอยุธยาความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับหัวเมืองมลายูไม่ปรากฏหลักฐานการเกิดแน่ชัด
6. เวียดนาม ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนามนอกเหนือจากการไปค้าขายกันตามปกติแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมักจะเป็นเรื่องของการแข่งขันการมีอิทธิพลในเขมร แต่บางครั้งก็เป็นมิตรไมตรีกัน เช่น อยุธยาได้ผูกมิตรกับกษัตริย์ราชวงศ์ตรินห์ที่เมืองฮานอย เพื่อต่อต้านราชวงศ์เหงียนซึ่งมีอำนาจอยู่ที่เมืองเว้ เมื่อเวียดนามรบกันเองไทยสามารถขยายอิทธิพลและมรอำนาจในเขมรได้อย่างสะดวก แต่เมื่อเวียดนามรวมกำลังกันได้ก็จะขยายอำนาจเข้าไปในเขมรทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกับไทย บางครั้งถึงขั้นทำสงคราม เหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นหลายครั้งในสมัยอยุธยา
ความสัมพันธ์กับรัฐในเอเชีย
1. จีน อยุธยาทำการติดต่อกับประเทศจีนในสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ. 1991-2187) กับราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187-2454) กับราชวงศ์ชิง โดยรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับจีนเป็นไปในรูปความสัมพันธ์แบบรัฐบรรณาการ แล้วจักรพรรดิจีนจะทรงตอบแทนคณะทูตอยุธยาด้วยการพระราชทานของขวัญมีค่าที่มากกว่าให้ และอนุญาตให้อยุธยาซื้อสินค้าจากจีนได้ โดยอยุธยาสามารถนำสินค้าและของขวัญจีนไปขายต่อในราคาสูง ในระบบความสัมพันธ์แบบบรรณาการนั้น จักรพรรดิจีนถือว่าอยุธยาเป็นประเทศราชของจักรวรรดิจีน แต่สำหรับราชสำนักอยุธยาแล้วถือว่าความสัมพันธ์กับจีนถือว่าความสัมพันธ์กับจีนอยู่ในรูปของการค้าเป็นหลัก ดังนั้นจะเห็นได้จากอยุธยาส่งคณะทูตพร้อมเครื่องราชบรรณาการไปถวาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น